วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

พี่อะรีฟ ไปละหมาด

                                         พี่อะรีฟแต่งตัวหล่อ ไปละหมาดที่สุเหล่า
ถ้าลูกน้อยร้องจะให้ทำยังไง
วิธีการปฏิบัติเมื่อลูกร้องนี้ มักจะใช้กับเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 3 - 4 เดือนครับ เพราะการร้องไม่หยุดมักจะเป็นปัญหาในเด็กวัยนี้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับการร้องเวลากลางคืนได้ด้วยครับ เมื่อลูกร้องจึงควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ

1. ลองหาสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องก่อน 
เช่นความไม่สบายตัวจากการเปียกฉี่ เปียกอึ อากาศร้อนไป เย็นไป มีเสียงดังรบกวน หรือบางครั้งเป็นสาเหตุการร้องกลางคืนง่ายๆ ที่เรานึกไม่ถึง เช่นเด็กทารกบางคนแหวะนมออกมาใส่หมอน พอหลับต่อก็ร้องเป็นพักๆ จากการที่เด็กเหม็นคราบนมที่ตัวเองอาเจียนออกมาเลอะหมอน

2. ถ้าหาสาเหตุไม่พบ 
ให้ลองอุ้มปลอบดูก่อน ผมเคยเห็นเด็กทารกที่ร้องไห้โยเยอยู่ในอ้อมกอดแม่ แม่อุ้มปลอบเท่าไรก็ไม่ยอมหยุด แต่พอส่งให้ยายอุ้มปลอบ แป๊บเดียวเด็กหยุดร้องเลยครับ คุณยายมีท่าการอุ้ม มีการปลอบโยนที่สามารถทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและหยุดร้องได้ ซึ่งอันนี้เป็นเทคนิคและประสบการณ์ แต่ก็สามารถฝึกกันได้ครับ

3. ถ้าอุ้มปลอบแล้วลูกน้อยก็ยังไม่หยุดร้อง อนุญาตให้เด็กดูดน้ำจากขวดนมได้ แต่เป็นน้ำนะครับ ไม่ใช่นม 
การดูดน้ำจากขวดทำให้เด็กทารกหยุดร้องได้จากรีเฟล็กซ์ที่บอกไปแล้ว การที่เด็กกินน้ำเดี๋ยวก็ปัสสาวะออกไป ไม่เป็นไร แต่นมเป็นอาหารต้องย่อย อาจเกิดปัญหาได้ถ้าเราให้บ่อยๆ เช่นย่อยไม่ทัน ทำให้อาเจียนหรือแหวะนมออกมา การให้น้ำแทน จะทำให้เรายืดระยะเวลากินนมของเด็กทารกออกไปได้ 

4. เมื่อทำถึงขั้นนี้แล้วเด็กทารกส่วนใหญ่มักหยุดร้อง แต่ถ้ายังไม่หยุดร้องจริงๆ อาจใช้จุกนมปลอมชั่วคราวให้เด็กดูด เด็กก็จะหยุดร้อง 
โดยปกติแล้วไม่แนะนำให้ใช้จุกนมปลอมเลยถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เด็กดูดจนติดเป็นนิสัย และอาจมีผลต่อการเรียงตัวของฟันเมื่อเด็กมีฟันขึ้นแล้ว แต่กรณีนี้เป็นการใช้ชั่วคราวกับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 - 4 เดือนเท่านั้นครับ ไม่ได้ให้ใช้ไปตลอด


read more “พี่อะรีฟ ไปละหมาด”

พัฒนาการของ น้องนาอิฟ วัย 2 เดือน

                                           น้องนาอิฟ น้ำหนัก 6 โล ครึ่ง
                                                  ความยาว 67 ซม.
                                               อ้วนกลม และ อารมณ์ดี
5 วิธีหยุดหนูร้องไห้ตอนกลางคืน
1. ห่อหนูให้กระชับ (Swaddle)
แค่คุณแม่เอาผ้าห่มห่อตัวหนูให้อุ่น หนูก็หยุดร้องแล้ว พูดจริงๆ นะคะ อย่าลืมว่าหนูเคยอยู่ในท้องคุณแม่ และชินกับที่แคบๆ มานานหลายเดือน จู่ๆ จะให้หนูมานอนอ้างว้างข้างนอก หนูจึงยังไม่คุ้นเคย อีกทั้งตอนนี้มือเท้าของหนูก็ขยับไปมาได้แบบฟรีสไตล์แล้ว หนูจึงหวาดผวามากขึ้น แต่ถ้าคุณแม่ช่วยห่อตัวให้หนู หนูจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนกำลังอยู่ในรกของคุณแม่ไงล่ะ แต่อ๊ะ...อ๊ะ ระวังอย่าห่อหนูจนแน่นเกินไปล่ะ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าคุณแม่ร้องไห้แทนหนูไม่รู้นา

2. ให้หนูนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ (Side / Stomach)
เวลาคุณพ่อคุณแม่อุ้มหนู ควรอุ้มให้อกหนูแนบเข้าหาตัวคุณพ่อคุณแม่ เพราะจะทำให้หนูรู้สึกสบายและอบอุ่นใจ อย่าอุ้มหนูแบบนอนหงายนะ ไม่งั้นหนูจะร้อง เพราะไม่มีอะไรอุ่นๆมาอยู่ตรงอกของหนู มันทำให้หนูรู้สึกไม่อบอุ่นและปลอดภัยเลย หรือหากคุณพ่อคุณแม่เมื่อยแขนแล้ว ก็ให้หนูนอนตะแคงก็ได้นะ และควรให้หนูกอดหมอนข้างด้วย เวลาหนูผวาก็ยังมีหมอนข้างอุ่นๆ อยู่ตรงอก เสมือนหนูมีอะไรกอดอยู่ตลอดเวลา มันทำให้หนูนอนสบายมากขึ้นค่ะ

3. กระซิบ ซือ.. ซือ.. เบาๆ ข้างๆ หูหนู (Sibilant) 
ซือ.. ซือ..เป็นเสียงคล้ายๆ ตอนที่หนูอยู่ในท้องของคุณแม่ หนูจะได้ยินเสียงแบบนี้ ซึ่งทำให้หนูรู้สึกปลอดภัยคล้ายได้อยู่ในที่ที่เคยอยู่ กุมารแพทย์คาร์ปบอกไว้ว่า มันเป็นวิธีการที่ดีกว่าอุ้มหนูแบบเงียบๆ หรือเอาแต่ปลอบหนูไปเรื่อยๆ และหากคุณพ่อคุณแม่ทำเสียงไม่ได้ ก็ให้หนูฟังเสียงเครื่องดูดฝุ่นหรือเสียงเครื่องเป่าผมแทนก็ได้นะ แต่อย่าเป่ามาที่ตัวหนูล่ะ เพราะจะทำให้หนูรู้สึกร้อนจนร้องไห้มากขึ้น

4. แกว่งหนูไปมาสิ (Swinging)
คุณพ่อคุณแม่ลองอุ้มหนูแล้วแกว่งไปมาสิ พร้อมทั้งเอามือลูบหรือตบเบาๆ แล้วอย่าลืมเวลาอุ้มหนูจับคอหนูให้มั่นคงด้วยนะ เพราะคอหนูยังไม่แข็งเลย การอุ้มหนูอย่างรักใคร่ อบอุ่น มั่นคงทำให้หนูรู้สึกปลอดภัย สบายใจ หลับได้ง่าย ไม่ร้องไห้โยเย ขอแค่อย่าแกว่งหนูแรงมาก หรือหมุนตัว เพราะจะทำให้หนูเวียนหัว เลยร้องไห้ไปกันใหญ่

5. ให้หนูดูดนมแม่ด้วยก็ดีนะ (Sucking)
เมื่อหนูอยู่ในผ้าอ้อมหรือผ้าห่มที่ห่อตัวหนูเอาไว้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ทำตามวิธีการถัดมาดังที่กล่าวไว้แล้ว ไม่ว่าจะขั้นตอนใดก่อนหรือหลังก็ตามจนหนูสงบลง ไม่ร้องไห้โยเย ก็อาจจะให้หนูดูดนมคุณแม่ หรือใช้หัวนมปลอมสะอาดๆ ให้หนูดูดก็ได้ แต่จะให้ดีที่สุดก็ต้องเป็นนมของคุณแม่ เพราะท่าที่คุณแม่กอดหนูแนบอก หนูจะรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในรกที่โอบอุ้มหนูไว้ ยิ่งได้เห็นหน้าของคุณแม่ หรือมือน้อยๆ ของหนูสามารถจับหน้าอกแม่ หรือลูบตัวแม่ได้ หนูจะยิ่งสงบลงได้เร็ว

หลักปฏิบัติข้างต้นนี้ช่วยให้หนูสงบลงได้ แถมยังทำให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นอีกด้วย จะได้ไม่กระทบกับการทำงานของคุณพ่อคุณแม่ไงคะ
read more “พัฒนาการของ น้องนาอิฟ วัย 2 เดือน”

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

น้องนาอิฟ ตัวโต้ โต

                           น้องนาอิฟ น้ำหนักเยอะตอนนี้อายุ 2 เดือน น้ำหนัก 6 โลครึ่ง
 
เส้นทางแห่งความรู้สึก
อุ้มลูกน้อยเดินไปทั่วบ้านในวันฝนตก จับมือลูกไปสัมผัสหน้าต่างที่เย็นชื้น หยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ ต้นไม้ หรือสิ่งของอื่น ๆ ในบ้านที่จับต้องได้อย่างปลอดภัย เป็นการเปิดประสาทสัมผัสของลูกสู่ความรู้สึกต่าง ๆ เมื่อได้แตะต้องสิ่งของเย็น เปียก หรือความลื่น
                                             พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อย
ลูกถือได้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะพึงเจอ เขาจะตั้งอกตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันโดยไม่มีขอบเขตใดมาจำกัดความกระหายใคร่รู้ของเขา และเขาก็ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อสิ่งที่คุณพยายามจะให้ เพราะเขาอยากให้คุณรู้สึกพอใจ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้คงทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการที่ได้สอนเขาด้วยเช่นกัน ทารกต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องนับตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก โปรดอย่าลืมว่าทารกมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประเภท และเขาก็อยากเรียนรู้ให้ครบทารกมีความกระตือรือร้นอย่างสูงที่จะได้เจอะเจอ กับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสใหม่ และเขาไม่เคยเด็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพียงแต่คุณต้องดัดแปลงวิธีและเนื้อหาของสิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับวัยของเขา เท่านั้น ไม่ควรให้เด็กทำสิ่งที่ยากเกินอายุ เพราะจะทำให้เขาเครียดสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และอาจรู้สึกไม่ดีกับคุณในที่สุด ควรช่วยเขาเปิดโลกทัศน์ แต่ไม่บังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณต้องการ คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเฉพาะของลูก และเปิดโอกาสให้เขาแสวงหาอย่างเต็มที่
อย่าปล่อยให้ช่วง 6 สัปดาห์แรกในชีวิตของลูกคุณผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หลายๆ คนมีความคิดผิดๆ ว่าการที่ทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน อันที่จริงการขาดสิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส) จะทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิต เช่นเดียวกับการเติบโตทางกายด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น
read more “น้องนาอิฟ ตัวโต้ โต”